วิทยาลัยการอาชีพปะเหลียน

ข้อมูลสถานศึกษา

วิทยาลัยการอาชีพปะเหลียน (Palian Industrial and community education College)

1.1  ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา

          1.1.1  ประวัติวิทยาลัยการอาชีพปะเหลียน

                   เนื่องด้วยกระทรวงศึกษาธิการ  มีนโยบายขยายการศึกษาวิชาชีพให้กว้างขวางขึ้นเพื่อให้สอดคล้อง  และเพียงพอกับความต้องการของประชาชนในชนบทตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในท้องถิ่น  ตลอดจนก้าวทันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวมของประเทศ  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  จึงตอบสนองนโยบายของรัฐบาล  โดยกำหนดโครงการจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอขึ้นในแผนพัฒนาอาชีวศึกษาระยะที่  7 (พ.ศ. 2535 – 2539) ขึ้น

                   ปะเหลียนเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง  ที่มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ  วัฒนธรรม สังคมและการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางโครงการสำคัญๆในอนาคต อาทิ โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกและโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ จึงทำให้ความต้องการกำลังคนด้านวิชาชีพมากขึ้น

                   วิทยาลัยการอาชีพปะเหลียน  ประกาศจัดตั้ง  เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม  2539  โดยดำริของ ฯพณฯ ชวน  หลีกภัย  ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ปี 2537)และการประสานงานของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดตรัง  และชุมชนอำเภอปะเหลียน  เพื่อพัฒนาคนด้านอาชีพในระดับอำเภอ  ให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 โดยได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 – 2541  ณ  พื้นที่  “ทุ่งจิกนม”  เลขที่ 89  หมู่ที่ 5  ตำบลท่าข้าม  อำเภอปะเหลียน  จังหวัดตรัง  มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น  49  ไร่  3  งาน  73  ตารางวา

          1.1.2  ขนาดและที่ตั้ง

                   วิทยาลัยการอาชีพปะเหลียน  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ตั้งอยู่เลขที่ 89หมู่ที่ 5  ตำบลท่าข้าม  อำเภอปะเหลียน  จังหวัดตรัง  มีเนื้อที่ทั้งหมด  รวม  49 ไร่  3 งาน  73  ตารางวา

          1.1.3  สภาพชุมชน เศรษฐกิจ และสังคม

                   อำเภอปะเหลียน  ตั้งอยู่ที่พิกัด  NH 927762 ห่างจากจังหวัดตรังไปทางทิศใต้ประมาณ 44กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 404 (สายตรัง-สตูล) และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1.050 กิโลเมตร ท้องที่ปกครองของอำเภอปะเหลียนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้

                   อาณาเขต

                   ทิศเหนือ          ติดต่อกับอำเภอย่านตาขาว  จังหวัดตรัง

                   ทิศตะวันออก     ติดต่อกับอำเภอกงหรา  และอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

                   ทิศใต้             ติดต่อกับอำเภอทุ่งหว้า  จังหวัดสตูล และทะเลอันดามัน

                   ทิศตะวันตก      ติดต่อกับอำเภอหาดสำราญ  และอำเภอกันตัง

ที่มาของชื่ออำเภอ  ปะเหลียน

                   มีผู้พยายามค้นหาความหมายและความเป็นมาของคำว่า “ปะเหลียน” จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ เพราะเมืองปะเหลียนมีประวัติยาวนานหลายชั่วอายุคนประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ไม่สามารถค้นหาได้จึงเป็นเพียงแต่คำบอกเล่าต่อๆ กันมาและเป็นข้อสันนิษฐานที่พอจะรับฟังได้ คือ

—“ปะเหลียน” เป็นสถานที่ที่มีทรัพยากรมาก มาจากคำว่า “ปราเลียน” แปลว่า พบหรือ

เจอ และ “เหลียน”  แปลว่า  สิ่งที่มีค่า  เพี้ยนมาจากคำว่า เหรียญ  คือ ของมีค่า

— “ปะเหลียน” เพี้ยนมาจากคำในภาษามาเลย์จากเดิมว่า “ปราเลียน” แปลว่า ทอง

อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าจะยังไม่มีผู้ใดทราบถึงความหมายอันแท้จริงของคำว่าปะเหลียน  แต่ปะเหลียนก็เป็นชื่อตำบลหนึ่งของอำเภอที่ติดต่อกับทิวเขาบรรทัดซึ่งกั้นแดนระหว่างจังหวัดตรัง  กับจังหวัดพัทลุง  ในสมัยก่อนชาวพัทลุงได้อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ตำบลปะเหลียนเป็นจำนวนมาก  สำหรับที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน  ตั้งอยู่ที่บ้านท่าข้าม  หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม  ซึ่งสมัยก่อนเป็นท่าเรือสำคัญที่ใช้ติดต่อคมนาคมกับจังหวัดชายแดนฝั่งทะเลอันดามันและมลายูหรือประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน

ลักษณะภูมิศาสตร์

อำเภอปะเหลียนมีพื้นที่  973.13  ตารางกิโลเมตร  (607,266.25  ไร่)  พื้นที่ตอนเหนือ

และตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงริมทิวเขาบรรทัด  ส่วนตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลส่วนตอนกลางเป็นที่ราบ

ลักษณะภูมิอากาศ

เป็นแบบมรสุม  มี  2  ฤดู คือ  ฤดูฝนและฤดูแล้ง  อยู่ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

  – กุมภาพันธ์  อุณหภูมิเฉลี่ย  27   องศาเซนติเกรด  ปริมาณน้ำฝนประมาณ 1.500 มิลลิเมตรต่อปี  ฤดูร้อน  อยู่ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-   พฤษภาคม  อุณหภูมิเฉลี่ย  32  องศาเซนติเกรด  ปริมาณน้ำฝน  500 มิลลิเมตรต่อปี

การปกครองส่วนภูมิภาค

                   อำเภอปะเหลียนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น  ตำบล   หมู่บ้าน  ได้แก่

                    1. ท่าข้าม        (Tha Kham)              9        หมู่บ้าน

                    2. ทุ่งยาว        (Thung Yao)              7        หมู่บ้าน

                    3. ปะเหลียน     (Palian)                    14      หมู่บ้าน

                    4. บางด้วน      (Bang Duan)              6        หมู่บ้าน

                    5  บ้านนา       (Ban  Na)                 12      หมู่บ้าน

                    6.  สุโสะ         (Suso)                     11      หมู่บ้าน

                    7.  ลิพัง           (Liphang)                  7        หมู่บ้าน

                    8. เกาะสุกร      (Koh  Sukon)             4        หมู่บ้าน

                    9. ท่าพญา       (Tha Phaya)              4        หมู่บ้าน

                    10. แหลมสอม  (Laem  Som)             11      หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น   

          ท้องที่อำเภอปะเหลียน   ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  12 แห่ง  ได้แก่

           1. เทศบาลตำบลท่าข้าม                    ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าข้าม

            2. เทศบาลตำบลทุ่งยาว                    ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งยาว

            3. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม       ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้าม(เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม)

          4. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว         ครอบคลุมครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้าม

(เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว)

          5. องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน      ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะเหลียนทั้งตำบล

          6. องค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน       ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางด้วนทั้งตำบล

          7. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา        ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนาทั้งตำบล

          8. องค์การบริหารส่วนตำบลสุโสะ           ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสุโสะทั้งตำบล

          9. องค์การบริหารส่วนตำบลลิพัง            ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลิพังทั้งตำบล

          10. องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร     ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะสุกรทั้งตำบล

          11. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพญา      ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าพญาทั้งตำบล

          12. องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสอม   ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมสอมทั้งตำบล

ทรัพยากร

— ป่าไม้ อำเภอปะเหลียนมีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติถึง 315,025 ไร่  หรือร้อยละ  42  ของพื้นที่อำเภอปะเหลียน แต่ในปัจจุบันป่าสงวนแห่งชาตินั้น ได้ถูกบุกรุกจับจองตัดไม้เพื่อเอาที่ดินไปทำการเกษตรไปมากแล้ว  ซึ่งในบริเวณป่าไม้นี้  มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ  เช่น  น้ำตกโตนเต๊ะ   น้ำตกช่องเขาบรรทัด  ภูเขาเจ็ดยอด  น้ำตกพ่าน  เป็นต้น

— เต่าทะเล   ชาวบ้านตำบลเกาะสุการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์  มีการดูแลไข่เต่าที่มาฟักตัวบริเวณชายฝั่ง  นอกจากนี้ในบริเวณนี้ยังมีรังนกนางแอ่น  ซึ่งทางราชการจัดให้มีสัมปทานอยู่ที่เกาะเหลาเหลียง  เกาะเภตรา  ตำบลเกาะสุกร

— หญ้าทะเล    พื้นที่อำเภอปะเหลียนบางส่วนเป็นชายฝั่งทะเลและเป็นเกาะบริเวณทะเลน้ำตื้น  โดยเฉพาะชายฝั่งเกาะสุกร  เป็นพื้นที่ที่มีพันธุ์หญ้าทะเลขึ้นเป็นจำนวนมาก  จึงจำเป็นต้องอนุรักษ์เพื่อเป็นสถานที่วางไข่และเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเล

เผ่าซาไก

เงาะซาไก  หรือ  “มันนิ” ซึ่งแปลว่า พวกเรา   อาศัยอยู่ตามแนวทิวเขาบรรทัดในเขตตำบลลิพัง  และตำบลปะเหลียน   ทั้งหมดมีอยู่ประมาณ  30 – 35 คน  แบ่งออกเป็นกลุ่มทั้งหมด  4 กลุ่ม  มันนิใส่เสื้อผ้าแบบสมัยใหม่ที่ชาวบ้านบริเวณนั้นบริจาคให้  พูดภาษาไทยถิ่นใต้  ได้ชัดเจน  แต่ยังชอบอยู่ในป่า  มันนิถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เข้าใจวิถีทางธรรมชาติในป่ามากที่สุดเผ่าพันธุ์หนึ่ง

เศรษฐกิจและสังคม

อาชีพ     มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก   ดังนี้

  1. ยางพารา                       ร้อยละ  75

  2. ปลูกข้าว                        ร้อยละ  7

  3. ทำไร่                            ร้อยละ  3

  4. เลี้ยงสัตว์                       ร้อยละ  2

  5. ประมง                          ร้อยละ  8

  6. อุตสาหกรรม อื่นๆ             ร้อยละ  5

ธนาคาร     จำนวน   5  ธนาคาร   คือ   ธนาคารกรุงเทพ  จำกัด สาขาปะเหลียน  ธนาคารออมสิน ธนาคารไทยพาณิชย์  ธนาคารกรุงไทย  และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งยาว    ทั้ง  5  ธนาคาร

ศาสนา

  มีผู้นับถือศาสนาอิสลาม           ร้อยละ  55.60

  มีผู้นับถือศาสนาพุทธ              ร้อยละ  44.40

  มีศาสนสถาน  ดังนี้   วัด จำนวน  9 วัด,   สำนักสงฆ์ จำนวน 8  แห่ง, มัสยิด จำนวน

40 แห่ง และศาลเจ้า  จำนวน  4  แห่ง

ประเพณีท้องถิ่น

  1. เทศกาลส่งท้ายปีเก่า   ต้อนรับปีใหม่

  2. เทศกาลกินเจ

  3. งานลอยกระทง

  4. เทศกาลไหว้พระจันทร์

ปรัชญา

     ทักษะล้ำ   กิจกรรมเด่น   เน้นคุณธรรม  นำชุมชน

วิสัยทัศน์

    “เป็นแหล่งผลิต และพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

อัตลักษณ์นักเรียน นักศึกษา

          ทักษะเด่น เน้นจิตอาสา

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

          สร้างคน สร้างงาน บริการชุมชน

พันธกิจ

          1. จัดการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ และการพัฒนาประเทศ

          2. บริการวิชาการวิชาชีพสู่ชุมชน

          3. ส่งเสริมการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          4. ส่งเสริม พัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี       

          5. ส่งเสริมทำนุบำรุง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ตราสัญลักษณ์ประจําวิทยาลัย

ทำเบียนผู้บริหาร

ลำดับชื่อ – สกุลระยะเวลา
 1นายกำจัด บุญพันธ์2539 – 2540
 2ว่าที่ รท.พงศักดิ์ สนั่นพัฒนพงศ์2540 – 2542
 3นายเสรี เมืองสง2542 – 2547
 4นายประสงค์ อยู่ทอง2547 – 2550
 5นายสุนทร พลงรงค์2551 – 2552
 6นายสำเริง ฐานบุรี2552 – 2552
 7นายกำจร ตันวัฒนา2552 – 2553
 8นายโสภณ ชัยภักดี2554 – 2556
 9นายวิทยาก่วนสกุล2556 – 2557
 10นายชนสรณ์จิตภักดี2557 – 2559
 11นายเจนวิทย์บุญช่วย2559 – 2561
 12นายพิมนศิลป์ทัพนันตกุล2562 – 2563
 13นายเฉลิมศักดิ์ทองเนื้ออ่อน2563 – ปัจจุบัน

สีประจาวิทยาลัย :

 

          สีฟ้า – เลือดหมู   

          สีฟ้า  แทนค่า  ความเข้มแข็ง ความอดทน ความกล้าหาญ ความเสียสละ เป็นสีของท้องฟ้าที่มีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเป็นสีแห่งจักรวาล

          สีเลือดหมู  แทนค่า  ความอดทน เข้มแข็ง สีแห่งครูช่าง

วิทยาลัยการอาชีพปะเหลียน
สถานศึกษารางวัลพระราชทาน 3 ครั้ง ภายใน 10 ปี
ปีการศึกษา 2555, 2560, 2564 🏆🏆🏆